บทเรียนออนไลน์e-Learning (Organization)
ความหมายของ e-Learning (What is e-Learning?)
การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Learning รูปแบบการเรียนการสอนซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหา(delivery methods) ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตอินทราเน็ตเอ็กซทราเน็ตหรือทางสัญญาณโทรทัศน์หรือสัญญาณดาวเทียมและใช้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาสารสนเทศในรูปแบบต่างๆซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควรเช่นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer-Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-lineLearning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมหรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนักเช่นการเรียนจากวิดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้นอย่างไรก็ดีในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึง e-Learning คนส่วนใหญ่จะหมายเฉพาะถึงการเรียนเนื้อหาหรือ
สารสนเทศซึ่งออกแบบมาสำหรับการสอนหรือการอบรมซึ่งใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการ
ถ่ายทอดเนื้อหาและเทคโนโลยีระบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System)
ในการบริหารจัดการการเรียนรู้ของผู้เรียนและงานสอนด้านต่างๆโดยผู้เรียนที่เรียนจาก e-Learning นี้สามารถ
ศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์นอกจากนี้เนื้อหาสารสนเทศของ e-Learning จะถูกนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)จากความหมายที่คนส่วนใหญ่นิยาม e-Learning นั้นจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า e-Learningไม่ใช่เพียงแค่การสอนในลักษณะเดิมๆและนำเอกสารการสอนมาแปลงให้อยู่ในรูปดิจิตัลและนำไปวางไว้บนเว็บหรือระบบบริหารจัดการการเรียนรู้เท่านั้นแต่ครอบคลุมถึงกระบวนการในการเรียนการสอนหรือการอบรมที่ใช้เครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นทางการเรียนรู้ (flexible learning)สนับสนุนการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (learner-centered) และการเรียนในลักษณะตลอดชีวิต(life-long learning) ซึ่งอาศัยการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนทัศน์ (paradigm shift) ของทั้งกระบวนการในการเรียนการสอนด้วยนอกจากนี้ e-Learning ไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียนทางไกลเสมอคณาจารย์สามารถนำไปใช้ในลักษณะการผสมผสาน (blended)กับการสอนในชั้นเรียนได้
ลักษณะสำคัญของ e-Learning (Feature of e-Learning)
ลักษณะสำคัญของ e-Learning ที่ดีควรจะประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการดังนี้
1. ทุกเวลาทุกสถานที่ (Anywhere, Anytime) หมายถึง e-Learning ควรต้องช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริงในที่นี้หมายรวมถึงการที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเนื้อหาตามความสะดวกของผู้เรียนเช่นผู้เรียนมีการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายได้อย่างยืดหยุ่น
2. มัลติมีเดีย (Multimedia) หมายถึง e-Learning ควรต้องมีการนำเสนอเนื้อหาโดยใช้ประโยชน์จากสื่อประสมเพื่อช่วยในการประมวลผลสารสนเทศของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความคงทนในการจดจำและ/หรือการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
3. การเชื่อมโยง (Non-linear) หมายถึง e-Learning ควรต้องมีการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ไม่เป็นเชิงเส้นตรงกล่าวคือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการโดย e-Learning จะต้องจัดหาการเชื่อมโยงที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียนนอกจากนี้ยังหมายถึงการออกแบบให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามจังหวะ(pace) การเรียนของตนเองด้วยเช่นผู้เรียนที่เรียนช้าสามารถเลือกเนื้อหาที่ต้องการเรียนซ้ำได้บ่อยครั้งผู้เรียนที่เรียนดีสามารถเลือกที่จะข้ามไปเรียนในเนื้อหาที่ต้องการได้โดยสะดวก
4. การโต้ตอบ (Interaction) หมายถึง e-Learning ควรต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนโต้ตอบ
(มีปฏิสัมพันธ์) กับเนื้อหาหรือกับผู้อื่นได้กล่าวคือ
1) e-Learning ควรต้องมีการออกแบบกิจกรรมซึ่งผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหา (Interactive
Activities) รวมทั้งมีการจัดเตรียมแบบฝึกหัดและแบบทดสอบให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบ
ความเข้าใจด้วยตนเองได้
2) e-Learning ควรต้องมีการจัดหาเครื่องมือในการให้ช่องทางแก่ผู้เรียนในการติดต่อสื่อสาร(Collaboration Tools) เพื่อการปรึกษาอภิปรายซักถามแสดงความคิดเห็นกับผู้สอนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหรือเพื่อนๆร่วมชั้นเรียน
โดยในส่วนของการโต้ตอบนี้จะต้องคำนึงถึงการให้ผลป้อนกลับที่ทันต่อเหตุการณ์ (Immediate
Response) ซึ่งอาจหมายถึงการที่ผู้สอนต้องเข้ามาตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
และทันเหตุการณ์รวมถึงการที่ e-Learning ควรต้องมีการออกแบบให้มีการทดสอบการวัดผลและ
การประเมินผลซึ่งสามารถให้ผลป้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะของแบบทดสอบ
ก่อนเรียน (pre-test) หรือแบบทดสอบหลังเรียน (posttest) ก็ตาม
รูปแสดงรูปเว็บไซต์ที่มีรูปแบบImmediate__
องค์ประกอบของ e-Learning (Component of e-Learning)
รูปแสดงรูปองค์ประกอบขอe-learning
1. เนื้อหา (Content)
เนื้อหาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดสำหรับ e-Learning คุณภาพของการเรียนการสอนของ e-Learning
และการที่ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนในลักษณะนี้หรือไม่อย่างไรสิ่งสำคัญที่สุดก็คือเนื้อหาการเรียน
ซึ่งผู้สอนได้จัดหาให้แก่ผู้เรียนซึ่งผู้เรียนมีหน้าที่ในการใช้เวลาส่วนใหญ่ศึกษาเนื้อหาด้วยตนเองเพื่อทำการปรับ
เปลี่ยน (convert) เนื้อหาสารสนเทศที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้เกิดเป็นความรู้โดยผ่านการคิดค้นวิเคราะห์อย่างมีหลัก
การและเหตุผลด้วยตัวของผู้เรียนเองคำว่า “เนื้อหา” ในองค์ประกอบแรกของ e-Learning นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะ
สื่อการสอนและ/หรือคอร์สแวร์เท่านั้นแต่ยังหมายถึงส่วนประกอบสำคัญอื่นๆที่ e-Learning จำเป็นจะต้องมี
เพื่อให้เนื้อหามีความสมบูรณ์เช่นคำแนะนำการเรียนประกาศสำคัญต่างๆผลป้อนกลับของผู้สอนเป็นต้น
2. ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System)
องค์ประกอบที่สำคัญมากเช่นกันสำหรับ e-Learning ได้แก่ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ซึ่งเป็น
เสมือนระบบที่รวบรวมเครื่องมือซึ่งออกแบบไว้เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการจัดการกับการเรียนการสอน
ออนไลน์นั่นเองซึ่งผู้ใช้ในที่นี้แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มได้แก่ผู้สอน (instructors) ผู้เรียน (students) ผู้ช่วยสอน
(course manager) และผู้ที่จะเข้ามาช่วยผู้สอนในการบริหารจัดการด้านเทคนิคต่างๆ (network administrator)
ซึ่งเครื่องมือและระดับของสิทธิในการเข้าใช้ที่จัดหาไว้ให้ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่การใช้งานของแต่ละ
กลุ่มตามปรกติแล้วเครื่องมือที่ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ต้องจัดหาไว้ให้กับผู้ใช้ได้แก่พื้นที่และเครื่องมือ
สำหรับการช่วยผู้เรียนในการเตรียมเนื้อหาบทเรียนพื้นที่และเครื่องมือสำหรับการทำแบบทดสอบแบบสอบ
ถามการจัดการกับแฟ้มข้อมูลต่างๆนอกจากนี้ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ที่สมบูรณ์จะจัดหาเครื่องมือใน
การติดต่อสื่อสารไว้สำหรับผู้ใช้ระบบไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เว็บบอร์ด
(Web Board) หรือแช็ท (Chat) บางระบบก็ยังจัดหาองค์ประกอบพิเศษอื่นๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้
อีกมากมายเช่นการจัดให้ผู้ใช้สามารถเข้าดูคะแนนการทดสอบดูสถิติการเข้าใช้งานในระบบการอนุญาตให้ผู้
ใช้สร้างตารางการเรียนปฏิทินการเรียนเป็นต้น
3. โหมดการติดต่อสื่อสาร (Modes of Communication)องค์ประกอบสำคัญของ e-Learning ที่ขาดไม่ได้อีกประการหนึ่งก็คือการจัดให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญอื่นๆรวมทั้งผู้เรียนด้วยกันในลักษณะที่หลากหลายและสะดวกต่อผู้ใช้กล่าวคือมีเครื่องมือที่จัดหาไว้ให้ผู้เรียนใช้ได้มากกว่า 1 รูปแบบรวมทั้งเครื่องมือนั้นจะต้องมีความสะดวกในการใช้งาน (user-friendly) ด้วยซึ่งเครื่องมือที่ e-Learning ควรจัดหาให้ผู้เรียนได้แก่
3.1 การประชุมทางคอมพิวเตอร์ในที่นี้หมายถึงการประชุมทางคอมพิวเตอร์ทั้งในลักษณะของการติดต่อสื่อสารแบบต่างเวลา(Asynchronous) เช่นการแลกเปลี่ยนข้อความผ่านทางกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์หรือที่รู้จักกันในชื่อ
ของเว็บบอร์ด (Web Board) เป็นต้นหรือในลักษณะของการติดต่อสื่อสารแบบเวลาเดียวกัน(Synchronous) เช่นการสนทนาออนไลน์หรือที่คุ้นเคยกันดีในชื่อของแช็ท (Chat) และ ICQ หรือในบางระบบอาจจัดให้มีการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงสด (Live Broadcast / Videoconference) ผ่านทางเว็บเป็นต้นในการนำไปใช้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนผู้สอนสามารถเปิดสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในคอร์สซึ่งอาจอยู่ในรูปของการบรรยายการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการเปิดอภิปรายออนไลน์เป็นต้น
3.2ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(e-mail)ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนหรือผู้เรียนอื่นๆในลักษณะรายบุคคลการส่งงานและผลป้อนกลับให้ผู้เรียนผู้สอนสามารถให้
คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคลทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ผู้สอนสามารถใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในการให้ความคิดเห็นและผลป้อนกลับที่ทันต่อเหตุการณ์
ข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของ e-Learning (advantage of e-Learning)
ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำe-Learningไปใช้ในการเรียนการสอนมีดังนี้Information
1. e-Learning ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพราะการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทาง
มัลติมีเดียสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียวหรือจาก
การสอนภายในห้องเรียนของผู้สอนซึ่งเน้นการบรรยายในลักษณะ Chalk and Talk แต่เพียงอย่างเดียว
โดยไม่ใช้สื่อใดๆซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ e-Learning ที่ได้รับการออกแบบและผลิตมาอย่างมีระบบ
e-Learningสามารถช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในเวลาที่เร็วกว่า
นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดีเพราะผู้สอนจะ
สามารถใช้ e-Learning ในการจัดการเรียนการสอนที่ลดการบรรยาย (lecture)ได้และสามารถใช้ e-Learning
ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (autonomous
learning) ได้ดียิ่งขึ้น
2. e-Learning ช่วยทำให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียด
และตลอดเวลาเนื่องจาก e-Learning มีการจัดหาเครื่องมือที่สามารถทำให้ผู้สอนติดตามการเรียนของผู้เรียนได้
3. e-Learning ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้เนื่องจากการนำเอาเทคโนโลยี
Hypermedia มาประยุกต์ใช้ซึ่งมีลักษณะการเชื่อมโยงข้อมูลไม่ว่าจะเป็นในรูปของข้อความภาพนิ่งเสียง
กราฟิกวิดีโอภาพเคลื่อนไหวที่เกี่ยวเนื่องกันเข้าไว้ด้วยกันในลักษณะที่ไม่เป็นเชิงเส้น (Non-Linear) ทำให้
Hypermedia สามารถนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบใยแมงมุมได้ดังนั้นผู้เรียนจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลใดก่อน
หรือหลังก็ได้โดยไม่ต้องเรียงตามลำดับและเกิดความสะดวกในการเข้าถึงของผู้เรียนอีกด้วย
4. e-Learning ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามจังหวะของตน (Self-paced Learning) เนื่องจากการนำ
เสนอเนื้อหาในรูปแบบของ Hypermedia เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนในด้านของ
ลำดับการเรียนได้ (Sequence) ตามพื้นฐานความรู้ความถนัดและความสนใจของตนนอกจากนี้ผู้เรียนยัง
สามารถทดสอบทักษะตนเองก่อนเรียนได้ทำให้สามารถชี้ชัดจุดอ่อนของตนและเลือกเนื้อหาให้เข้ากับรูป
แบบการเรียนของตัวเองเช่นการเลือกเรียนเนื้อหาเฉพาะบางส่วนที่ต้องการทบทวนได้โดยไม่ต้องเรียนใน
ส่วนที่เข้าใจแล้วซึ่งถือว่าผู้เรียนได้รับอิสระในการควบคุมการเรียนของตนเองจึงทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตาม
จังหวะของตนเอง
5. e-Learning ช่วยทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอนและกับเพื่อนๆได้เนื่องจาก e-Learning มี
เครื่องมือต่างๆมากมายเช่น Chat Room, Web Board, E-mail เป็นต้นที่เอื้อต่อการโต้ตอบ (Interaction) ที่
หลากหลายและไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ในสถาบันการศึกษาเดียวกัน (Global Choice) นอกจากนั้น e-Learning
ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีจะเอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นการ
ออกแบบเนื้อหาในลักษณะเกมหรือการจำลองเป็นต้น
6. e-Learning ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆรวมทั้งเนื้อหาที่มีความทันสมัยและตอบสนองต่อ
เรื่องราวต่างๆในปัจจุบันได้อย่างทันทีเพราะการที่เนื้อหาการเรียนอยู่ในรูปของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (Etext)
ซึ่งได้แก่ข้อความซึ่งได้รับการจัดเก็บประมวลผลนำเสนอและเผยแพร่ทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีข้อได้
เปรียบสื่ออื่นๆหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของความสามารถในการปรับปรุงเนื้อหาสาร
สนเทศให้ทันสมัยได้ตลอดเวลาการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการด้วยความสะดวกและรวดเร็วและความคงทน
ของข้อมูล
7. e-Learning ทำให้เกิดรูปแบบการเรียนที่สามารถจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้นเพราะผู้
เรียนที่ใช้การเรียนลักษณะ e-Learning จะไม่มีข้อจำกัดในด้านการเดินทางมาศึกษาในเวลาใดเวลาหนึ่งและ
สถานที่ใดสถานที่หนึ่งดังนั้น e-Learning จึงสามารถนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-
Long Learning) ได้และยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถนำ e-Learning ไปใช้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่ขาดโอกาส
ทางการศึกษาในระดับต่างๆได้เป็นอย่างดีโดยผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในเมืองหรือในชนบทสามารถเข้ามา
ศึกษาเนื้อหาที่ได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน
8. e-Learning ทำให้สามารถลดต้นทุนในการจัดการศึกษานั้นๆได้ในกรณีที่มีการจัดการเรียนการสอน
สำหรับผู้เรียนที่มีจำนวนมากและเปิดกว้างให้สถาบันอื่นๆหรือบุคคลทั่วไปเข้ามาใช้ e-Learning ได้ซึ่งจะ
พบว่าเมื่อต้นทุนการผลิต e-Learning เท่าเดิมแต่ปริมาณผู้เรียนมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นหรือขยายวงกว้างการใช้
(Scalability) ออกไปก็เท่ากับเป็นการลดต้นทุนทางการศึกษานั่นเองสามารถศึกษาประโยชน์ในการลดต้น
ทุนของ e-Learning ได้จากรูปที่ 6 ด้านล่างซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อจำนวนของผู้เรียนที่เข้ามาเรียนด้วย e-
Learning มีจำนวนมากขึ้นๆอัตราการลงทุนของการศึกษาจะมากขึ้นไม่มากนักและเป็นอัตราที่น้อยกว่า
อัตราการลงทุนเมื่อจัดการเรียนการสอนแบบปรกติ
ข้อจำกัด
1. ผู้สอนที่นำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะของสื่อเสริมโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเลยกล่าวคือ
ผู้สอนยังคงใช้แต่วิธีการบรรยายในทุกเนื้อหาและสั่งให้ผู้เรียนไปทบทวนจาก e-Learning หาก e-Learning
ไม่ได้ออกแบบให้จูงใจผู้เรียนแล้วผู้เรียนคงใช้อยู่พักเดียวก็เลิกไปเพราะไม่มีแรงจูงใจใดๆในการใช้
e-Learningก็จะกลายเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าแต่อย่างใด
2. ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ (impart) เนื้อหาแก่ผู้เรียนมาเป็น (facilitator) ผู้ช่วยเหลือและ
ให้คำแนะนำต่างๆแก่ผู้เรียนพร้อมไปกับการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจาก e-Learning
ทั้งนี้หมายรวมถึงการที่ผู้สอนควรมีความพร้อมทางด้านทักษะคอมพิวเตอร์และรับผิดชอบต่อการสอน
มีความใส่ใจกับผู้เรียนโดยไม่ทิ้งผู้เรียน
3. การลงทุนในด้านของ e-Learning ต้องครอบคลุมถึงการจัดการให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหา
และการติดต่อสื่อสารออนไลน์ได้สะดวกสำหรับ e-Learning แล้วผู้สอนหรือผู้เรียนที่ใช้รูปแบบการเรียน
ในลักษณะนี้จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก (facilities) ต่างๆในการเรียนที่พร้อมเพรียงและมี
4. การออกแบบ e-Learning ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนเช่นผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในบ้านเรา
ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยรุ่น e-Learning จะต้องได้รับการออกแบบตามหลักจิตวิทยาการศึกษากล่าวคือจะต้อง
เน้นให้มีการออกแบบให้มีกิจกรรมโต้ตอบอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกับเนื้อหาเองกับผู้เรียนอื่นๆหรือกับ
ผู้สอนก็ตามนอกจากนั้นแล้วการออกแบบการนำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์นอกจากจะต้องเน้นให้
เนื้อหามีความถูกต้องชัดเจนยังคงจะต้องเน้นให้มีความน่าสนใจสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้
ตัวอย่างเช่นการออกแบบนำเสนอโดยใช้มัลติมีเดียรวมทั้งการนำเสนอในลักษณะ non-linear ซึ่งผู้เรียน
สามารถเลือกที่จะเรียนเนื้อหาก่อนหลังได้ตามความต้องการ
5. ในการที่ e-Learning จะส่งผลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ของผู้เรียนได้นั้นสิ่งสำคัญได้แก่การที่ผู้เรียน
จะต้องรู้จักวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-Learning) อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการ
สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (selfdiscipline)
รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างเสริมลักษณะนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้รู้จักวิธีการเลือกสรร
ประเมินรวบรวมสารสนเทศรวมทั้งรู้จักการจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์สังเคราะห์และการนำเสนอสารสนเทศตามความเข้าใจของตนเองBest Practice in Teaching with e-Learning 9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น