วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

CSR “Corporate Social Responsibility

CSR “Corporate Social Responsibility (Organization )
                                     การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

”ISO26000“CSR  หมายถึงการดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้(ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์กรเช่น ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัว พนักงาน ชุมชนท้องถิ่นที่องค์กรตั้งอยู่) และระดับไกล (ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรทางอ้อม  เช่น  คู่แข่งขันทางธุรกิจ ประชาชนโดยทั่วไป) ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

            ในระดับของลูกค้า ตัวอย่างCSRของกิจการได้แก่ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เน้นคุณค่ามากกว่ามูลค่าความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภคการให้ข้อมูลขององค์กรและตัวผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอและอย่างถูกต้องเที่ยงตรงมีการให้บริการลูกค้าอย่างตรงไปตรงมาเป็นต้น
     
ในระดับของคู่ค้า ตัวอย่าง
CSRของกิจการ ได้แก่การแบ่งปันหรือการใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือการรวมกลุ่มในแนวดิ่งตามสายอุปทานความรอบคอบระมัดระวังในการผสานประโยชน์อย่างเป็นธรรมไม่เอารัดเอาเปรียบต่อคู่ค้าเป็นต้น
         
ในระดับของชุมชนและสภาพแวดล้อม ตัวอย่าง
CSRของกิจการ ได้แก่ การสงเคราะห์เกื้อกูลชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่การส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นให้มีโอกาสในตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กรการสนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขเป็นต้น
    
ในระดับของประชาสังคม ตัวอย่าง
CSRของกิจการ ได้แก่การสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือเครือข่ายอื่นๆในการพัฒนาสังคมการตรวจตราดูแลมิให้กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนการรับฟังข้อมูลหรือทำประชาพิจารณ์ต่อการดำเนินกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมและการทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมาเป็นต้น     ในระดับของคู่แข่งขันทางธุรกิจ ตัวอย่างCSRของกิจการ ได้แก่การดูแลกิจการมิให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันด้วยวิธีการทุ่มตลาดการดำเนินงานในทางต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก และการให้สินบนในทุกรูปแบบเป็นต้น
          โดยสามารถวัดผลได้ใน 3 มิติ คือ การวัดผลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
 ระดับของ CSR
ระดับ1.MandatoryLevel:ข้อกำหนดตามกฎหมายหมายถึงการที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้
                                          เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเช่นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค,
                                         กฎหมายเเรงงาน,การจ่ายภาษีเป็นต้น
 
ระดับ 2 Elementary Level:ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หมายถึงการที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถใน
                                            การอยู่รอดและให้ผลตอบเเทนแก่ผู้ถือหุ้นซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่ง
                                           เกิด จากการเบียดเบียนสังคม
ระดับ 3 Preemptive Level:
จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึงการที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่
                            
ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์
                                            ตอบแทนเเก่สังคมมากขึ้นโดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความ
                                            คาดหวังว่าจะได้รับการดูเเลหรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ
ระดับ 4 Voluntary Level: ความสมัครใจ หมายถึงการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามเเนวทาง
                                           ของ CSR ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคมซึ่งการ
                                      ธุรกิจ อยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ               ทั้งนี้ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ1เป็นอย่างน้อยส่วนการดำเนินการในระดับต่อไป
ให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กรโดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทางCSRควรอยู่บนหลัก
พอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเองและขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม
 
  ประเภทของCSR
  In processหมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อม
                                ขององค์กรเช่นการดูแลสวัสดิการพนักงานการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม,
                                ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

 After processหมายถึง  กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยว
                                      กับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา,
                                      การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
 As Processหมายถึง    องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร
                                     เช่น มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ
 หลักแนวคิดของCSR     1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี
     2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
    3. การเคารพสิทธิและการปฎิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม
     4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
    5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
     6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม
     7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
   8.การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม

ทั้งนี้ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ1เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไป
ให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กรโดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทางCSRควรอยู่บนหลัก
พอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเองและขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม
 

 ชนิดของกิจกรรม CSR
ศ.ฟิลิปคอตเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์นและแนนซี่ ลี อาจารย์สมทบแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และมหาวิทยาลัยซีแอตเติ้ล ได้จำแนกCSRไว้เป็น 7 ชนิด (type) กิจกรรม* ได้แก่
1. การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม (Cause Promotion) เป็นการจัดหาเงินทุน วัสดุสิ่งของ หรือทรัพยากรอื่นขององค์กร เพื่อขยายการรับรู้และความห่วงใยต่อประเด็นปัญหาทางสังคมนั้น ตลอดจนสนับสนุนการระดมทุน การมีส่วนร่วม หรือการเฟ้นหาอาสาสมัครเพื่อการดังกล่าว องค์กรธุรกิจอาจริเริ่มและบริหารงานส่งเสริมนั้นด้วยตนเอง หรือร่วมมือกับองค์กรหนึ่งองค์กรใด หรือกับหลายๆ องค์กรก็ได้
2. การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นทางสังคม (Cause-Related Marketing) เป็นการอุดหนุนหรือการบริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากการขายผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือหรือร่วมแก้ไขประเด็นปัญหาทางสังคมจำเพาะหนึ่งๆ ซึ่งมักมีช่วงเวลาที่จำกัดแน่นอน หรือดำเนินการแบบจำเพาะผลิตภัณฑ์ หรือให้แก่การกุศลที่ระบุไว้เท่านั้น กิจกรรมCSRชนิดนี้ องค์กรธุรกิจมักร่วมมือกับองค์กรที่ไม่มีวัตถุประสงค์หากำไรเพื่อสร้างสัมพันธภาพในประโยชน์ร่วมกัน ด้วยวิธีการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ เพื่อนำเงินรายได้ไปสนับสนุนกิจกรรมการกุศลนั้นๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือการกุศลผ่านทางการซื้อผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นใดเพิ่มเติม
3. การตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม (Corporate Social Marketing) เป็นการสนับสนุนการพัฒนาหรือการทำให้เกิดผลจากการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านสุขภาวะ ความแตกต่างสำคัญระหว่างการตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคมกับการส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม คือ การตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคมจะเน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior Change) เป็นหลัก ในขณะที่การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคมจะเน้นที่การสร้างความตระหนัก (Awareness) ตลอดจนการสนับสนุนทรัพยากรด้านทุนและอาสาสมัครเพื่อให้รับรู้ถึงประเด็นปัญหาดังกล่าว
 4. การบริจาคเพื่อการกุศล (Corporate Philanthropy) เป็นการช่วยเหลือไปที่ประเด็นปัญหาทางสังคมโดยตรง ในรูปของการบริจาคเงินหรือวัตถุสิ่งของ เป็นกิจกรรมCSRที่พบเห็นในแทบทุกองค์กรธุรกิจ และโดยมากมักจะเป็นไปตามกระแสความต้องการจากภายนอกหรือมีผู้เสนอให้ทำ มากกว่าจะเกิดจากการวางแผนหรือออกแบบกิจกรรมจากภายในองค์กรเอง ทำให้ไม่เกิดการเชื่อมโยงเข้ากับเป้าหมายหรือพันธกิจขององค์กรเท่าใดนัก
5. การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering) เป็นการสนับสนุนหรือจูงใจให้พนักงาน คู่ค้าร่วมสละเวลาและแรงงานในการทำงานให้แก่ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่และเพื่อตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางสังคมที่องค์กรให้ความสนใจหรือห่วงใย องค์กรธุรกิจอาจเป็นผู้ดำเนินการเองโดยลำพัง หรือร่วมมือกับองค์กรหนึ่งองค์กรใด และอาจเป็นผู้กำหนดกิจกรรมอาสาดังกล่าวนั้นเอง หรือให้พนักงานเป็นผู้คัดเลือกกิจกรรมแล้วนำเสนอต่อองค์กรเพื่อพิจารณาให้การสนับสนุน โดยที่พนักงานสามารถได้รับการชดเชยในรูปของวันหยุดหรือวันลาเพิ่มเติม
6. การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible BusinessPractices) เป็นการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างพินิจพิเคราะห์ทั้งในเชิงป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม หรือในเชิงร่วมกันแก้ไขด้วยการช่วยเหลือเยียวยาปัญหาทางสังคมนั้นๆ ด้วยกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อการยกระดับสุขภาวะของชุมชนและการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยที่องค์กรธุรกิจสามารถที่จะดำเนินการเอง หรือเลือกที่จะร่วมมือกับพันธมิตรภายนอกก็ได้
7. การพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการตามกำลังซื้อของคนในระดับฐานราก (
Developing and Delivering Affordable Products and Services) เป็นการใช้กระบวนการทางธุรกิจในการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการสู่ตลาดที่เรียกว่า The Bottom of the Pyramid (BoP) ในราคาที่ไม่แพง เหมาะกับกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับฐานราก ให้สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมกันกับเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจในการเข้าถึงตลาดปริมาณมหาศาล **


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น