Blueprint for Change
1. หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
• ในกระบวนการของการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง ให้มุ่งเน้น การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นประชาชนผู้รับบริการ ข้าราชการ พนักงาน หรือสังคมส่วนรวม
• ทฤษฏีที่นำมาปรับใช้ คือ การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ “องค์กรที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์”(Strategy -
Focus Organization) เป็นแนวคิดของนักคิดชาวอเมริกัน Robert Kaplan และDavid Norton โดยใช้เทคนิคของ Balanced Scorecard มาต่อยอด เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมุ่งเน้นที่กลยุทธ์เป็นหลักและใช้หลักการอื่น2. เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร
ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) หมายถึง การวางแผนการดำเนินการต่าง ๆ ที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวและการยอมรับ พร้vมทั้งสร้างศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามเป้าหมาย (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2549ข)
ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) หมายถึง การวางแผนการดำเนินการต่าง ๆ ที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้เกิดการปรับตัวและการยอมรับ พร้vมทั้งสร้างศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามเป้าหมาย (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2549ข)
3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการให้เกิดความพร้อมในการสนับสนุนและผลักดันให้ยุทธศาสตร์ของส่วนราชการเกิดผลทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 ประเด็น คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพ การพัฒนาคุณภาพ และการเสริมสร้างสมรรถนะองค์กร
4. ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี :
• เกิดการสร้างตัวแบบการดำเนินงาน (operating model) และออกแบบกระบวนการในอนาคต (to-be process mapping) ที่มีความชัดเจน
• มองเห็นภาพรวมของขั้นตอนหรือกระบวนงานที่จะต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันไปตามกลยุทธ์ต่าง ๆ
• สามารถวางแผนการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพบุคลากร การยกระดับขีดสมรรถนะและคุณภาพองค์กรโดยรวม ปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์การมีแผนและเป็นระบบมากขึ้น
ข้อเสีย :
• เน้นเรื่องการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process) เพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงมิติอื่น
• ต้องใช้เอกสารจำนวนมาก และการประเมินภายนอกยังเป็นเพียงการประเมินจากเอกสาร
• Blueprint for Change เป็นเครื่องมือที่บังคับใช้กับทุกส่วนราชการ ทำให้ส่วนราชการอาจเกิดความรู้สึกว่าต้องการทำตามแบบฟอร์มไปเท่านั้น แต่ยังไม่ได้มีผลต่อการปรับปรุงองค์การอย่างแท้จริง
• เกิดการสร้างตัวแบบการดำเนินงาน (operating model) และออกแบบกระบวนการในอนาคต (to-be process mapping) ที่มีความชัดเจน
• มองเห็นภาพรวมของขั้นตอนหรือกระบวนงานที่จะต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันไปตามกลยุทธ์ต่าง ๆ
• สามารถวางแผนการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพบุคลากร การยกระดับขีดสมรรถนะและคุณภาพองค์กรโดยรวม ปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์การมีแผนและเป็นระบบมากขึ้น
ข้อเสีย :
• เน้นเรื่องการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process) เพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงมิติอื่น
• ต้องใช้เอกสารจำนวนมาก และการประเมินภายนอกยังเป็นเพียงการประเมินจากเอกสาร
• Blueprint for Change เป็นเครื่องมือที่บังคับใช้กับทุกส่วนราชการ ทำให้ส่วนราชการอาจเกิดความรู้สึกว่าต้องการทำตามแบบฟอร์มไปเท่านั้น แต่ยังไม่ได้มีผลต่อการปรับปรุงองค์การอย่างแท้จริง
5. ขั้นตอนการจัดทำ
กระบวนการในการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
6. มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ บรรยาย ในการประชุมสัมมนา เรื่อง การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2548 ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพ
ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ บรรยาย ในการประชุมสัมมนา เรื่อง การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2548 ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพ
7.กรณีศึกษา
หน่วยงาน ก.พ.ร. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ) ได้นำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการ เพื่อการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความพร้อมการสนับสนุนและผลักดันยุทธศาสตร์ของราชการให้เกิดผลทางปฎิบัติ และสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โดยเป็นตัวชี้วัดของการปฏิบัติงานราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ในมิติที่ 4 คือ มิติด้านการพัฒนาองค์กร เรื่องความสำเร็จและคุณภาพของการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงของจังหวัด/ส่วนราชการ
ขอบคุณที่มาของข้อมูล
คุณอภิชา กิจเชวงกุล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น