วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Frederic W.Taylor

Frederic W.Taylor

Frederic W.Taylor
ความเป็นมา
 
      เทเลอร์  ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (The Father of Scientific Management)  ซึ่งเมื่อมองจากประวัติส่วนตัวของเขาแล้วจะพบว่า Taylor เริ่มต้นจากการเป็นนายช่างในปี 1875 และเข้าร่วมงานกับ Midvale Steel Works ในฟิลาเดเฟียเมื่อปี 1878 จากนั้นก็เลื่อนไปสู่ตำแหน่งหัวหน้างานวิศวกรรมภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ด้วยการเรียนตอนเย็น
     Taylor  ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรที่ใช้ตัดเหล็กด้วยความเร็วสูง โดยอุทิศชีวิตและเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาในฐานะวิศวกรที่ปรึกษา นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกและริเริ่มการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ทดแทนจารีตประเพณีอันเป็นความเคยชินในการทำงานมาแต่ก่อน โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้วยการคิดค้นการทำงานตามหลักวิทยาศาสตร์
      ชื่อทฤษฎี : การจัดการอย่างมีหลักเกณฑ์/ การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

หลักการที่สำคัญ 
1.  ต้องสร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยใช้หลัก Time and Motion Study  แล้วกำหนดเป็น One best Way เพื่อให้เกิดวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
2.  มีการเลือกคนให้เหมาะสม
3.  มีกระบวนการพัฒนาคน
4.สร้าง Friendly Cooperation ให้เกิดขึ้น

ข้อเสีย
    การบริหารจัดการแบบวิทยศาสต์ถูกวิจารณ์ว่า ไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบที่เป็นมนุษย์ ทำให้ขาดความไว้วางใจผู้บริหาร

การนำไปใช้
     ตามทฤษฎี "การจัดการอย่างมีหลักการ (Scientific Management)" นี้ Taylor เห็นว่าสามารถนำไปใช้ได้กับขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกประเภท อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติความคิดเกี่ยวกับวิทยาการจัดการของ Taylor ได้รับการต่อต้านจากหลายฝ่าย เช่น นักบริหารระดับผู้จัดการ หัวหน้างานที่ไม่มีความรู้/ ความคิดที่ Taylor ให้การยกย่องผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Specialist)  ส่วนสหภาพแรงงานก็ต่อต้านเพราะรู้สึกว่า Taylor มองคนเหมือนหุ่นยนต์



Micheal Hammer

Micheal Hammer
Michael Hammer
ความเป็นมา
       Michael Hammer เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1948 and James Champy ผู้มีแนวคิดกับการ Re-Engineering กล่าวคือวงการธุรกิจในอเมริกา กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องแสวงหาวิธีการใหม่ ที่พลิกฟื้นสถานการณ์โดยเร็วที่สุด ซึ่งมีพลังผลักดัน 3 ประการคือ (1) ลูกค้า (Customer) (2) การแข่งขัน (Competitions) และ (3) การเปลี่ยนแปลง (Change) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนในหมู่นักบริหารปัจจุบัน ตลอดจนได้มีการเปลี่ยนกรอบเค้าโครงของความคิด ( Paradigm )จากที่เคยเฉื่อยชา ต้องเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ( Globalization ) ความหมายและแนวคิด ดร.รุ่ง แก้วแดง ได้อธิบายความหมายของคำว่า การรื้อปรับระบบไว้ในหนังสือ รีเอ็นจิเนียริ่งระบบราชการไทย ตามแนวคิดของ Hammer กับ Champy และหนังสือ Reengineering the Corporation ของ แฮมเบอร์กับแชมปี แปลโดยปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ว่าการรื้อปรับระบบ หมายถึงการพิจารณาหลักการพื้นฐานของธุรกิจและการคิดหลักการขึ้นใหม่ ชนิดถอนรากถอนโคน ปรับกระบวนการธุรกิจใหม่เพื่อให้บรรลุถึงผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ คือ เป้าหมายขององค์กร โดยใช้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัยและสำคัญที่สุดใน 4 ด้าน คือ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความเร็ว โดยมีคำศัพท์ที่เป็นหัวใจสำคัญของรื้อปรับระบบ 4 คำศัทพ์คือ
การรื้อปรับระบบ
Rethink
Redesign
Retools
Rehumaneering

Frank B. Gilbreth & Lillian Gilbreth

Frank B. Gilbreth & Lillian Gilbreth
Frank B. Gilbreth & Lillian Gilbreth

ความเป็นมา
      ผู้สนับสนุนแนวคิดของ Taylor อีก 2 ท่าน คือ Frank B. Gilbreth (ค.ศ.1868-1924) และ Lillian Gilbreth (ค.ศ.1978-1972) Frank B. Gilbreth ได้ออกจากมหาวิทยาลัยมาเป็นช่างก่อสร้างในปี ค.ศ.1855 ขณะมีอายุ 17 ปี สิบปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าควบคุมดูแลการก่อสร้างอาคารของบริษัท และเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเอง ในช่วงที่เป็นอิสระจากงานของ Taylor เขาสนใจเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนไหวในการทำงาน โดยลดจำนวนการเคลื่อนที่ในการเรียงอิฐ เขาสร้างความเป็นไปได้ของการทำงานของผู้เรียงอิฐที่ได้งานเป็นสองเท่าของปกติ
       ในการทำงานของ Frank B. Gilbreth ได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนโดยภรรยาของเขา คือ Lillian ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม เก้าปีหลังจากการแต่งงาน (ในปี ค.ศ.1924) Frank B. Gilbreth ได้เสียชีวิต Lillian เป็นที่ปรึกษาธุรกิจและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นสภาพสตรีคนแรกของการจัดการธุรกิจ จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 93 ปี

องค์ประกอบ

         Lillian Gilbreth สนใจในการทำงานของมนุษย์ ส่วนสามีสนใจในประสิทธิภาพในการทำงาน (การค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน) Frank ได้ประยุกต์ใข้การบริหารจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management principles) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 
1) เป็นการวิเคราะห์ทุก ๆ กิจกรรมของแต่บุคคลที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะงานที่มีความสำคัญ 
2) เป็นการค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นกิจกรรมประกอบแต่ละอย่าง 
3) มีการปฏิรูปกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป้นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพได้ คือใช้ต้นทุนและเวลาน้อยที่สุด

ข้อดี

             Time and motion study หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การศึกษาการทำงาน (Work study) เป็นเครื่องมือที่ช่วย
<!--[if !supportLists]-->1.   <!--[endif]-->ลดความสูญเปล่า ทั้งด้านเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงาน
<!--[if !supportLists]-->2.   <!--[endif]-->ผลผลิตในการทำงานเพิ่มขึ้น


Luther Gulick

Luther Gulick
Luther Gulick 
ความเป็นมา
เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1892 ที่เมือง Osaka ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาว American แต่เนื่องจากบิดาเป็นMissionary ที่นั่น Gulick จึงอาศัยอยู่ที่ Osaka  ต่อมานักวิชาการด้านรัฐประสาสนศาสตร์มีความเห็นร่วมกันว่า ทฤษฎีแนวความคิดหลักการบริหารได้เจริญถึงจุดสุดยอดในปี ค.ศ. 1937 อันเป็นปีที่ Gulick และ Urwick ได้ร่วมกันเป็นบรรณาธิการหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration : Notes of the Theory of Organization โดยเสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ชื่อว่า ‘ POSDCoRB” อันเป็นคำย่อของภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร 7 ประการ
ทฤษฎี : กระบวนการบริหาร POSDCoRB
          กูลิค และ เออร์วิกค์ ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ เอาไว้ในหนังสือชืื่อ "Paper on the Science of Administration ) โดยเสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีชื่อว่า "POSDCoRB" ภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร 7 ประการ คือ
     1.  Planning  การวางแผน
          เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
     2.  Organizing  การจัดองค์การ
          เป็นการกำหนดโครงสร้างขององค์การ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงาน (Division of Work) เป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน (Specialization) 
     3.  Staffing   การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน
          เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการจัดแบ่งหน่วยงานที่กำหนดไว้
     4.  Directing   การอำนวยการ
          เป็นภาระกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership)  มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) การจูงใจ (Motivation)  และการตัดสินใจใจ (Decision making) เป็นต้น
     5.  Coordinating  การประสานงาน
          เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการทำงานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และราบรื่น
     6.  Reporting  การรายงาน
         เป็นกระบวนการและเทคนิคของการแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตามชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยที่มีีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสาร (Communication)  ในองค์การอยู่ด้วย
     7.  Budgeting  การงบประมาณ
           เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทำบัญชีการควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง
การนำไปใช้
          สาระสำคัญของแนวคิดของ Gulick&Urwick เกี่ยวกับ POSDCoRB  ก็คือ ประสิทธิภาพ อันเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสมและความจำเป็น  หรือความถนัดของคนงาน  โดยแบ่งหน่วยงานออกตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่โดยทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเหลี่ยมปิรามิด มีสายการลังคับบัญชาถอยหลั่นกันมา

Richard Johnson


Richard Johnson
แนวความคิด : ทฤษฎีเชิงระบบ

แนวคิดหลัก  (key concepts)

 องค์การถูกพิจารณาเป็นระบบเปิด
 การบริหารจัดการต้องมีปฏิกิริยาสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยนำเข้าไปสู่ผลผลิต
 วัตถุประสงค์ขององค์การจะต้องมุ่งที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
 องค์การจะประกอบด้วยระบบย่อยจำนวนมาก
 มีหลายช่องทางที่จะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน
 การรวมตัวจะมีขนาดใหญ่กว่าผลรวมของแต่ละชิ้นส่วน

ส่วนประกอบของแนวคิดเชิงระบบ
<!--[if !supportLists]-->1.  เป้าหมาย (Goals )  และทรัพยากร  (Resources)
<!--[if !supportLists]-->2.  องค์การ(Organization)และการประสานงาน(Coordination)
<!--[if !supportLists]-->3.  การแก้ไขปัญหา  (Solutions) และแนวคิด (Perspectives)

สิ่งที่ให้ประโยชน์  (contribution)
ทำให้ยอมรับความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก

ข้อจำกัด 
ไม่สามารถให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงในหน้าที่และงานของผู้บริหาร

Hugo Munsterberg

Hugo Munsterberg
Hugo Munsterberg

          Hugo Munsterberg ( ปี 1863 – 1916 ) เกิดวันที่  1 มิถุนายน 1863 ที่เมือง Danzig ประเทศ Germany การศึกษา 1882 ที่  University of Geneva University of leipzig
            มันสเตอร์เบิร์ก เป็นนักจิตวิทยาของสถาบันฝึกอบรม วิลเลียม เจมส์ (William James)  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน         ได้เชิญมันสเตอร์เบิร์กไปสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด     เป็นที่ที่เขาได้ทดลองประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ประกอบด้วย  การรับรู้   และความเอาใจใส่เขามีชื่อเสียงมากในวงการศึกษาของชาวอเมริกันเขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายตามที่ต่างๆ  และเป็นเพื่อนกับประธานาธิบดีรูสเวลท์   (Theodore Roosevelt)   มันสเตอร์เบิร์กให้ความสนใจกับการประยุกต์จิตวิทยามาใช้ในการแก้ปัญหาในการทำงานศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยมันสเตอร์เบิร์กเชื่อว่าจิตวิทยาสังคมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหา ในทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมหนึ่งของ มันสเตอร์เบิร์ก ที่นำมาใช้ทุกวันนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทำให้คนขับรถบรรทุกมีความปลอดภัย เขาศึกษาอย่างเป็นระบบในลักษณะทั้งหมดของการทำงาน การพัฒนา ห้องปฏิบัติการที่ประดิษฐ์รถบรรทุก และรวมทั้งผู้ปฏิบัติการที่ดีสามารถเข้าใจพร้อมกันทั้งหมดเกี่ยวกับความก้าวหน้าของรถยนต์

สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Hugo Munsterberg
       เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในการคิดค้นทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เป็นผู้เริ่มต้นวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม เขียนหนังสือชื่อ Psychology and Industrial Efficiency,Hugo Munsterberg  จึงได้ชื่อว่าเป็น   บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม

แนวคิดของ  Hugo Munsterberg
          แนวคิดเชิงพฤติกรรม  (The Behavior Viewpoint)  เน้นถึงความสำคัญของการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์และการจูงใจเพื่อความสำเร็จ
         Hugo Munsterberg   เป็นผู้ริเริ่มวิธีการเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือโรงงาน  หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับบุคคล    เพื่อปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตให้มากที่สุดการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ จะเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับโน้มน้าวจิตใจหรือดึงดูดใจคนทำงาน
ผลงานของที่สร้างชื่อให้ Hugo Munsterberg   Psychology  and Industrial   Efficiency” 

สาระสำคัญ “Psychology  and Industrial   Efficiency
-  ใช้วิธีการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพด้านจิตใจและคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดที่จะทำงานนั้น
-  ใช้วิธีการส่งเสริมสภาวะทางจิตวิทยาของคนในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจูงใจให้คนงานทุกระดับมีความสามารถ 
    สร้างผลผลิตได้อย่างเต็มความสามารถเพื่อก่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด และเป็นที่น่าพอใจโดยมีการฝึกอบรมคนงานเพื่อให้
    เกิดการเรียนรู้และนำประสบการณ์ใหม่ๆ มาใช้ทดแทนอย่างเหมาะสม
-  การให้ข้อเสนอแนะในการฝึกอบรมคนงาน  การบรรจุ แต่งตั้ง หรือการทำให้เกิดอิทธิพลต่อคนงานหรือจูงใจเพื่อให้
    เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สูด คือ ค่านิยมร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารและคนงาน

Lyndall Urwick

Lyndall Urwick
Lyndall Urwick

            Lyndall Urwick เกิดเมื่อวันที่  3 มีนาคม 1891 (.. 2434) ที่ Worchectershire ประเทศอังกฤษเป็นชาวอังกฤษสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก Oxford  จุดเน้นทฤษฎีองค์กร หรือ Organization Theory  การทำงาน  ตามปกติเมื่อพูดถึง Urwick ก็ต้องพูดถึง Gulick พร้อมๆกันเพราะผลงานของทั้งสองเป็นที่โด่งดังในเรื่อง  ทฤษฎีองค์กร หรือ organization theory Urwick เสียชีวิตเมื่อ 5 ธันวาคม1983 (.. 2526)

กระบวนการบริหารตามทฤษฎี 

           เป็นที่กล่าวกันว่าแนวความคิดนี้ประยุกต์เพิ่มเติมมาจากแนวความคิดที่ปรมาจารย์ Henri Fayol ท่านบัญญัติเอาไว้โดยต่อยอดให้ชัดเจนขึ้น แนวความคิดจึงค่อนไปทาง   bureaucratic   อยู่บ้างใน The      Theory  of Organization มีคำย่อออกมาสู่สายตาชาวโลก  คือ POSDCoRB
P = Planning หรือ การวางแผน
O = Organizing หรือการจัดองค์กร
S = Staffing หรือ การจัดคนเข้าทำงาน
D = Directing หรือ การสั่งการ
Co = Co-ordinating หรือการประสานงาน
R = Reporting หรือ การรายงาน
B = Budgeting หรือการงบประมาณ